เกี่ยวกับเรา
สาขาวิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศโลจิสติกส์และการขนส่ง
ประวัติสาขาวิชา
การบริหารการขนส่งระหว่างประเทศกำลังได้รับความสนใจจากหลาย ๆ ฝ่าย เพราะปัจจุบันธุรกิจการขนส่งระหว่างประเทศกำลังพัฒนาไปอย่างรุดหน้า หน่วยงานของภาครัฐบาลและเอกชนหลายแห่งกำลังขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญทางธุรกิจการขนส่งระหว่างประเทศโดยเฉพาะ ดังจะเห็นได้จากการสร้างท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังและการขยายท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังระยะที่ 2 การสร้างสนามบินหนองงูเห่า การขยายสนามบินดอนเมือง โครงการสนามบินขนสินค้าขนาดใหญ่ที่อู่ตะเภา การแปรรูปบริษัทการบินไทย เป็นต้น ยิ่งประเทศไทยมีการพัฒนาศักยภาพในการส่งออกและนำเข้ามากขึ้นเท่าใด การขนส่งระหว่างประเทศซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญส่วนหนึ่งในกระบวนการส่งออกนำเข้า ก็ยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการขนส่งระหว่างประเทศจำนวนมากต้องการบัณฑิตที่มีความรู้ทางด้านการบริหารการขนส่งระหว่างประเทศโดยเฉพาะมาร่วมพัฒนากิจการของตน
หลักสูตรวิชาธุรกิจระหว่างประเทศเน้นการสร้างบัณฑิตที่มีความเข้าใจในสภาพแวดล้อมของการดำเนินธุรกิจในระดับนานาชาติ โดยนักศึกษาจะได้มีโอกาสศึกษาวิชาทางด้านการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ ไปพร้อมกับการศึกษาวิชาทางด้าน Area Studies ของประเทศหรือกลุ่มประเทศที่ตนสนใจเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในสภาพเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม ที่ล้วนแต่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจทางธุรกิจ ยิ่งไปกว่านั้นนักศึกษายังมีโอกาสที่จะเพิ่มทักษะด้านภาษาอังกฤษด้วยการเน้นวิชาภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจและการเรียนการสอนที่ใช้สื่อภาษาอังกฤษ นอกเหนือจากการเรียนรู้ทางทฤษฎีในห้องเรียนแล้ว นักศึกษายังมีโอกาสเรียนรู้จากการฝึกงานในภาคฤดูร้อน หรือการทำวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านธุรกิจระหว่างประเทศ
หลักสูตรวิชา Logistics เป็นกระบวนการทำงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การดำเนินการ และการควบคุมการทำงานขององค์กร รวมทั้งการบริหารจัดการข้อมูลและธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้องให้เกิดการเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ การรวบรวม การกระจายสินค้า วัตถุดิบชิ้นส่วนประกอบ และการบริการ ให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด โดยคำนึงถึงความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ การเรียนการสอนที่ใช้สื่อภาษาอังกฤษ นอกเหนือจากการเรียนรู้ทางทฤษฎีในห้องเรียนแล้ว นักศึกษายังมีโอกาสเรียนรู้จากการฝึกงานในภาคฤดูร้อน หรือการทำวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านธุรกิจระหว่างประเทศ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
นักศึกษาทางด้านการบริหารการขนส่งระหว่างประเทศ จะได้ศึกษาถึงรูปแบบและวิธีการดำเนินธุรกิจขนส่งสินค้าทางทะเลและทางอากาศในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้คือ การบริหารและการจัดองค์การขั้นพื้นฐานของบริษัท ประวัติการเดินเรือและการบิน โครงสร้างและลักษณะของอุตสาหกรรมการเดินเรือและการขนส่งทางอากาศ บทบาทของผู้ประกอบกิจการ ตัวแทนประเภทต่าง ๆ บทบาทของรัฐ หลักและการปฏิบัติของบริษัทเดินเรือ บริษัทสายการบิน และบริษัทผู้รับจัดการขนส่ง การจัดทำเอกสาร ข้อตกลง และสัญญาการขนส่ง การจัดทำตารางเดินเรือ การเช่าเหมาเรือ ระบบการขนถ่ายและการจัดวางสินค้า อุปกรณ์กานักศึกษาทางด้านการบริหารการขนส่งระหว่างประเทศ จะได้ศึกษาถึงรูปแบบและวิธีการดำเนินธุรกิจขนส่งสินค้าทางทะเลและทางอากาศในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้คือ การบริหารและการจัดองค์การขั้นพื้นฐานของบริษัท ประวัติการเดินเรือและการบิน โครงสร้างและลักษณะของอุตสาหกรรมการเดินเรือและการขนส่งทางอากาศ บทบาทของผู้ประกอบกิจการ ตัวแทนประเภทต่าง ๆ บทบาทของรัฐ หลักและการปฏิบัติของบริษัทเดินเรือ บริษัทสายการบิน และบริษัทผู้รับจัดการขนส่ง การจัดทำเอกสาร ข้อตกลง และสัญญาการขนส่ง การจัดทำตารางเดินเรือ การเช่าเหมาเรือ ระบบการขนถ่ายและการจัดวางสินค้า อุปกรณ์การขนส่ง การบริหารการเงินของกิจการพาณิชยนาวี การวิเคราะห์การขนส่งทางอากาศ เศรษฐศาสตร์และนโยบายการขนส่งเบื้องต้นและการบริหารท่าเรือและคลังสินค้า เป็นต้น
คุณสมบัติของนักศึกษาที่เข้าเรียน
1. เป็นคนชอบคิดและวิเคราะห์ตลอดจนมีไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
2. มีความกระตือรือร้นและสนใจที่จะร่วมงานกับชาวต่างชาติ
3. สนใจและพร้อมที่จะใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสาร
นอกเหนือจากคุณสมบัติทั่วๆ ไป ข้างต้นนี้ นักศึกษาที่จะเรียนสาขาวิชานี้ได้ดี และมีความเจริญก้าวหน้าในชีวิตนั้นควรมีคุณสมบัติพิเศษ ดังนี้คือ
การประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา
นักศึกษาที่จบหลักสูตรปริญญาตรีด้านบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โลจิสติกส์และการขนส่ง สามารถประกอบธุรกิจหรือทำงานในธุรกิจด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
• ประกอบธุรกิจหรือเข้าร่วมงานในธุรกิจการนำเข้า-ส่งออก
• ธุรกิจผู้ให้บริการขนส่ง เช่น บริษัทเรือ บริษัทสายการบิน
• ธุรกิจผู้ให้บริการรับจัดการขนส่ง เช่น Freight Forwarder
• ธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์
• ธุรกิจท่าเรือ และสนามบิน
• ธุรกิจคลังสินค้าหรือการกระจายสินค้า
• ธุรกิจประกันภัยสินค้า
• ธุรกิจวิเทศธนกิจ เช่น ฝ่ายวิเทศธนกิจในสถาบันการเงิน
คณะพาณิชย์ฯ ม.ธรรมศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษา “ทีม E” ที่คว้ารางวัลชนะเลิศ จากกิจกรรม workshop
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์ ดร.ภวิดา ปานะนนท์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศโลจิสติกส์และการขนส่ง